วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หลักในการทำงานของในหลวง

สวัสดีค่ะ
พอดีไปพบ blog ของคุณพิพัฒน์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ) ได้เห็นหัวข้อหนึ่งที่น่าจะนำมาเผยแพร่กันเลยของอนุญาตนำมาลง blog นี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชทานหลักปฏิบัติต่อหัวหน้า ลูกน้อง และเพื่อนร่วมงาน ที่ท่านดาวน์โหลดจากลิงค์ข้างล่างนี้ นำไปติดไว้ที่โต๊ะทำงาน เพื่อปฏิบัติตามอันจะนำมาซึ่งมงคลแก่ชีวิตตนเองและส่วนรวม
หัวหน้า
ลูกน้อง
เพื่อนร่วมงาน

ที่มา:pptstn@yahoo.com

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คุณรู้ไหมทำไมพวกหนูถึงต้องมาทำงาน?







"เด็กคืออนาคตของชาติ" หลายคนคงจะคุ้นกับประโยคดังกล่าว แต่ทราบหรือไม่ว่ามีเด็กบางกลุ่มที่เขาไม่สามารถแม้แต่จะคิดกำหนดอนาคตของตนเอง! เพราะพวกเขามีภาระที่เกินกว่าเด็กในวัยที่ควรศึกษาเล่าเรียนควรกระทำ เด็กกลุ่มดังกล่าวคือแรงงานเด็ก(อายุต่ำกว่า 18 ปี) ซึ่งมักเป็นกลุ่มที่มักถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ตลอดเวลาที่ NGOs และภาครัฐร่วมกันจัดทำโครงการแรงงานเด็กตลอด 20 ปีซึ่งพบว่าปัจจัยไม่ใช่แค่ปัญหาความยากจนแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่มีความซับซ้อนจากทัศนคติของเด็กและครอบครัวที่มีต่อค่านิยมด้านวัตถุ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆอีกมากมายที่เป็นตัวผลักดันให้แรงงานเด็กจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ๆในประเทศรวมถึงแรงงานเด็กตามตะเข็บชายแดน ซึ่งหลายครั้งคำถามว่า "คุณรู้ไหมทำไมพวกหนูถึงต้องมาทำงาน?" ก็กลายเป็นคำถามที่ไม่ง่ายที่จะหาคำตอบมาอธิบาย

ที่มา: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
link: http://www.iamchild.org/leter/9/book_9.php

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Child and Familiy Clearinghouse คืออะไร







ถ้าจะถามว่า้ clearinhouse คืออะไรก็คงตอบได้ยาก เพราะนิยามของคำนี้ขึ้นอยู่กับว่า
อยู่กับคำว่าอะไรเช่น clearinghouse สำหรับแผนที่ ก็หมายถึง ระบบฐานข้อมูลทางแผนที่
เพื่อให้บันทึกและบริการทางสารสนเทศได้ 24 ชั่วโมง ในภาวะวิกฤตที่เวลาเป็นเรื่องสำคัญ
การที่แต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานจะออกมาประชาสัมพันธ์ข้อมูลของตนนั้นอาจไม่ทันกับเวลา
เป็นต้น สำหรับ child and family clearinghouse จึงน่าจะหมายถึง การทำฐานข้อมูล
สารสนเทศซึ่งรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานเพื่อสะดวกในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์
ด้านประเด็นเรื่องเด็กและครอบครัว ยกตัวอย่างในประเทศออสเตเรียการทำฐานข้อมูลสำหรับ
เด็กและครอบครัวแบบนี้เริ่มเมื่อปี 1995 โดยได้งบสนับสนุนจาก
Department of
Families, Community Services and Indigenous Affairs (FaCSIA) ซึ่งโครง
การนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ
the Australian Institute of Family Studies
ซึ่งให้บริการดังนี้
1. เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดในเด็ก การคุ้มครองเด็กและการดูแลเด็ก
ไร้บ้าน
2. การจายข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิจัย นักวางแผนและนโยบาย นักปฏิบัติ
3. ทำสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้คุณภาพเพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนทั่วไป
4. เป็นฐานข้อมูลเืพื่อทำการวิจัยปฐมภูมิ ทุติยภูมิและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
และครอบครัว
5. ริเริ่มโครงการ "help desk" เืพื่อช่วยเหลือนักวิจัยให้เข้าถึงแหล่งฐานข้อมูลที่ได้จัดทำ

ที่มา: Australian Institute of Family Studies, 2007